homeprovincearchitecturepaintsculpturecontact
 

วัดกลางมิ่งเมือง

ประวัติความเป็นมา

วัดกลางมิ่งเมือง  ตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๐๘๔ เดิมชื่อวัดกลาง  เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ดสันนิษฐานว่าวัดสร้างมาตั้งแต่เมืองร้อยเอ็ดอยู่ในการปกครองของขอม  ในสมัยของนายวิญญู  อังคณารักษ์เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดได้ขอพระราชทานยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี  ชนิดสามัญ  ตั้งแต่วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อ พ.ศ.๒๐๙๐  เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี  เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๓ และโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ  ฝึกสอนเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔

ที่ตั้ง

เลขที่ ๔๒๙ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๘ ไร่ ๑ งาน ๔๘ ตารางวา  อาณาเขตทิศเหนือ  จดถนนสุขบูรพา  ทิศใต้ จดถนนผดุงพานิช  ทิศตะวันออก  จดถนนเจริญพานิช  ทิศตะวันตก  จดถนนดำรงราษฎร์วิถี 

อาคารเสนาสนะ

ประกอบด้วยอุโบสถ  กว้าง ๑๒.๕๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๐
ศาลาการเปรียญ  กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๗ เมตร  เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๑๑
กุฏิสงฆ์จำนวน ๙ หลัง  เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ๒หลัง และตึก ๗หลัง 
และวิหารกว้าง ๖เมตร ยาว ๓๕ เมตร  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นอาคารคอนกรีต  ปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถมีนามว่า  พระพุทธมิ่งเมือง

การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ

รูปที่ ๑ พระครูหลักคำ (วา)
รูปที่ ๒ พระครูหลักคำ สุทธวงศา 
รูปที่ ๓ พระครูเพ็ง 
รูปที่ ๔ พระครูตา  พ.ศ. ๒๔๔๖-๒๔๕๕
รูปที่ ๕ พระครูเพ็ญธรรมคุณ  พ.ศ.๒๔๕๖-๒๔๙๐
รูปที่ ๖ พระสุนธรธรรมประพุทธ  ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๐  

 

รูปแบบสิมในอดีต

สิมด้านตะวันตก และ ด้านตะวันออก ถ่ายเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๐
 
 

รูปแบบสิมในปัจจุบัน

 
 

 

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้

 

ฮังผึ้ง ที่สิมวัดกลางมิ่งเมืองนี้นับเป็นส่วนเด่นเเละมีคุณค่ายิ่งของสิมหลังนี้ ประกอบไปด้วยฮังผึ้ง สามแผง อยู่ระหว่างสามช่วงเสา แกะสลักลายก้านขด เถาดอกไม้ มีดอก ใบ บนก้านที่ขดไปมา เกี่ยวกันอย่างงดงาม

 

 

ฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนังอีสาน)

ปรากฏอยู่หนือประตูทางเข้าและผนังภายนอกรอบสิม เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ และทศชาดก

 


 

สรุปแล้วรูปเเบบของสิมหลังนี้นับเป็นตัวอย่างของ สิมทึบพื้นบ้านบิสุทธิ์  ที่ดีที่สุดหลังหนึ่งของอีสาน 
ส่วนสภาพของวัสดุก่อสร้างนั้น  ฐานก่ออิฐพื้นเมืองซึ่งเผาไม่แกร่งนั้นได้หลุดร่วงลงมาบริเวณมุมเสาของมุขหน้าเนื่องด้วยเสาถูกปลวกกัดกินจนขาด  อิฐทีก่ออ้อมเสาเอาไว้จึงกระเทาะร่วงตามลงมาด้วย กอปรกับปูนฉาบแบบโบราณหมดสภาพการยึดเหนี่ยว บัดนี้ทางวัดได้ใช้ซีเมนต์ซ่อมจนกลับสู่สภาพเดิมแลัว ส่วนโครงสร้างหลังคานั้นยังมีความเเข็งเเรงดีทางคณะกรรมการวัดมีดำริจะรื้อถอน  แต่ท่านเจ้าอาวาสในสมัยนั้นคือพระสมุห์พิบูลย์ สุจิตโตได้คัดค้านเอาไวั ด้วยท่านเข้าใจในการอนุรักษ์โบราณสถาน  ทางกรรมาธิการสถาปนิกอีสานของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์  จึงได้มอบโล่เกียรติยศนักอนุรักษ์ดีเด่นไว้เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๔

 

ภายในสิม